ประโยชน์ของลำไย

on กุมภาพันธ์ 23, 2555

ประโยชน์ของลำไย

ลำไยถือเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าอย่างมหัศจรรย์ ไม่เพียงแต่อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการจากสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นวิตามิน เกลือแร่ และแร่ธาตุอีกหลายชนิดที่ดีและมีประโยชน์ต่อสุขภาพเท่านั้น ลำไยยังมีคุณค่าทางการแพทย์และเภสัชอีกด้วย ในทางการแพทย์แผนโบราณของจีนนั้นได้นำลำไยโดยเฉพาะลำไยแห้งซึ่งมีสรรพคุณใช้บำรุงหัวใจ บำรุงเลือด บำรุงประสาทตา บำรุงผิวพรรณ ช่วยย่อยอาหาร แก้อาการเครียด กระวนกระวาย นอนไม่หลับ เป็นต้น มาเป็นส่วนผสมในตัวยาด้วย สำหรับในประเทศไทยจากผลการวิจัยลำไยแห้งของทีมวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ข้อมูลวิทยาศาสตร์ยืนยันสรรพคุณประโยชน์ของลำไยในทางการแพทย์และเภสัชวิทยา ทั้งยังเตรียมสารสกัดมาตรฐานจากลำไยแห้งที่มีสรรพคุณทางการแพทย์และเภสัชอย่างน่าสนใจ ได้แก่สารออกฤทธิ์เหนี่ยวนำเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวให้ตาย แบบอะพอพโตซิส สารที่ยับยั้งความเป็นพิษของสารก่อมะเร็งทางเดินอาหาร สารที่ออกฤทธิ์ลดการเสื่อมสลายของข้อเข่า ผลการวิจัยล่าสุดได้พบว่าลำไยแห้งสามารถออกฤทธิ์ทำลายและต่อต้านอนุมูลอิสระได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีผิวเมลานิน ได้ดีกว่าสารเคมีที่ใช้ในเครื่องสำอางปัจจุบัน

- เปลือกของต้นมีสีน้ำตาลอ่อนหรือเทา และมีรสฝาด ใช้ต้มเป็นยาหม้อแก้ท้องร่วง
- ลำต้นมีขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๓๐-๔๐ ฟุต เนื้อไม้มีสีแดงและแข็ง สามารถใช้ทำเครื่องใช้ประดับบ้านได้
- ผลลำไย มีเปลือกสีน้ำตาลอมเขียว ภายในมีเนื้อขาวอมชมพูขาวอมเหลืองแล้วแต่สายพันธุ์ เนื้อลำไยสามารถบริโภคสด บรรจุกระป๋อง ตากแห้ง สามารถทำเป็นชาชงใช้ดื่ม เป็นยาบำรุงกำลัง ช่วยให้หลับสบาย เจริญอาหาร
- ผลลำไยแห้งมักใช้ในอาหารและยาสมุนไพรของจีน เพราะเชื่อว่ามีคุณสมบัติช่วยบำรุงกำลัง


การพัฒนาการหลังจากราดสาร

on พฤศจิกายน 06, 2553






การราดสาร ใช้สารโปรแตสเซี่ยมโรยรอบทรงพุ่ม โดยใช้ปริมาณขึ้นอยู่กับขนาดของทรงพุ่ม ชาวสวนนิยมใส่กันไม่ต่ำกว่าต้นละ 1 กิโลกรัม ถ้าใส่น้อยเกินไป ถ้าไม่ออกดอกก็จะทำให้เสียเวลาไปอีกเป็นปี
หลังจากโรยสารแล้วใช้น้ำราดสารให้สารละลายและกระจายใต้ทรงพุ่ม ให้เปียกชุมชื่น อยู่ตลอดเวลาเพื่อที่ต้นลำไยจะได้ดูดสารขึ้นสู่ลำต้น เพื่อพัฒนาการสู่การออกดอกต่อไป ดังรูป ลำไยต้นนี้ ราดสาร เมื่อ วันที่ 17 ก.ค.53


หลังจากราดสารแล้วประมาณ 1 เดือนลำไย ก็จะแทงช่อดอกให้เห็นการออกดอกของต้นลำไยขึ้นอยู่กับสภาพความพร้อมของต้นก่อนการราดสาร ว่าได้บำรุงเตรียมต้นมาดีพอไหม ถ้าเตรียมต้นบำรุงมาเป็นอย่างดีเปอร์เซ็นต์การออกดอกทั่วต้นก็มีมาก ปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างสำหรับการออกดอกก็ขึ้นอยู่กับสภาวะอากาศในช่วงที่ราดสารด้วยว่าช่วงนั้นมีฝนตกติดต่อกันมากไปหรือเปล่าถ้ามีฝนตกมากโอกาศสำหรับการออกดอกทั่วต้นก็น้อยลง
รูปนี้ถ่ายเมื่อ วันที่ 8 กันยายน 53 ลำไย ก็ออกดอก ทั่วต้น  ที่หลังจากได้เพียงราดสาร 1 เดือน 21 วัน ก็ ดอกช่อยาวประมาณ 1 ฟุต ช่วงนี้ ต้อง หมั่นพ่นยา จำพวก โบรอน แคลเซี่ยม เพื่อให้ช่วยให้ติดผลในช่วงดอกบาน พร้อมกับพ่นยากำจัดแมลง ที่จะคอยกัดกินช่อดอก เช่นยาจำพวก คลอไพริฟอส หรือ ไซเปอร์เมทธิล พร้อมกับยากันเชื้อรา ด้วย

วันที่20 ตุลาคม 53 เริ่มติดผลเท่าหัวไม้ขีด หลังจากราดสารได้ 3 เดือนลำไยก็เริ่ม ติดผลให้เห็นเท่าหัวไม้ขีดไฟ ช่วงนี้ ก็เริ่มให้น้ำบ่อยๆ และควรใส่ปุ๋ย สูตร 25-7-7 หรือ 15-15-15 พร้อมกับ กับพร้อมฉีดพ่นทางใบ โบรอน แคลเซี่ยม ฮอร์โมนต่างๆเพื่อช่วยบำรุงผล

                                 

4 พ.ย 53หลังจาก ราดสารได้ 3 เดือน 17 วัน ลำไยติดผลเท่าเม็ดถั่วเขียวแล้วต้องมั่นสังเกตุดูว่ามีแมลงกัดกินผลลำไยหรือไม่ ต้องคอย ให้น้ำอยู่อย่างสม่ำเสมอ ผ่านมาครึ่งทางแล้ว สำหรับการทำไยนอกฤดูช่วงต่อนี้ไปต้องมั่นเอาใจดูแลเป็นพิเศษเพื่อไห้ได้ผลผลิตที่ดี ซึงจะทำให้ขายลำไยได้ในราคาที่สูงด้วย ถ้าทำให้ลูกลำไย ได้เกรด AA


17 พ.ย 53 หลังจากราดสารได้ 4 เดือนลำไยช่วงนี้ลูกลำไยยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงสักเท่าไหร่ ต้องหมั่นให้น้ำใส่ปุ๋ยเพื่อให้ลูกพัฒนาและขยายใหญ่ต่อไป


ประวัติลำใย

on พฤศจิกายน 05, 2553






ลำไยมี ชื่อเรียกพื้นบ้านว่า บ่าลำไย ชื่อภาษาอังกฤษว่าลองแกน (Longan) ชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่าNephelium ,Canb.หรือEuphorialongana,Lamk.วงศ์Sapedadceaeทีน(Native)ในพื้นที่ราบต่ำ ของลังกาอินเดียตอนใต้ เบงกอลพม่าและจีนภาคใต้ เป็นพืชไม้ผลเขตร้อนและกึ่งร้อน

ประวัติลำไย

ลำไยเป็น ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและกึ่งร้อนของเอเชีย ซึ่งอาจมีถิ่นกำเนิดในลังกาอินเดียพม่าหรือจีนแต่ที่พบหลักฐานที่ปรากฏใน วรรณคดีของจีนในสมัยพระเจ้าเซ็งแทงของจีนเมื่อ ๑,๗๖๖ ปีก่อนคริสกาลและจากหนังสือRuYaของจีนเมื่อ ๑๑๐ ปีก่อนคริสตกาลได้มีการกล่าวถึงลำไยไว้แล้ว และชาวยุโรปได้เดินทางไปยังประเทศจีนเมื่อปีพ.ศ.๑๕๑๔ ก็เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับลำไยไว้ในปีพ.ศ.๑๕๘๕ แสดงว่าลำไยมีการปลูกในจีนที่มณฑลกวางตุ้งเสฉวนมีศูนย์กลางอยู่ที่มณฑลฟู เกียน

ลำไยได้ แพร่หลายเข้าไปในประเทศอินเดีย ลังกา พม่าและประเทศแถบเอเชียลังกาพม่าและประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเข้า สู่ประเทศอเมริกาในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๕

ในประเทศ ไทย ลำไยคงแพร่เข้ามาในประเทศพร้อมๆ กับประเทศในเขตนี้แต่ไม่ปรากฏหลักฐานหลักฐานที่พบเป็นต้นลำไยในสวนเก่าแก่ ของ ร.อ.หลวงราญอริพล(เหรียญสรรพเสน) ที่ปลูกในตรอกจันทร์ถนนสาธุประดิษฐ์ใกล้วัดปริวาศในสมัยรัชกาลที่ ๕เป็นลำไยที่ขยายพันธุ์มาจากเมล็ดเพาะแสดงว่าลำไยมีในประเทศไทยมาก่อนแล้ว




และมีการพัฒนา พันธุ์ตามลำดับตามสภาพภูมิอากาศต่อมาพระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้นำลำไย จากกรุงเทพฯขึ้นมาขยายพันธุ์ในจังหวัดเชียงใหม่จากนั้นก็ขยายพันธุ์สู่ ภูมิภาคต่างๆในล้านนาโดยการเพาะเมล็ดจนเกิดการแปรพันธุ์(Mutation)เกิด พันธุ์ใหม่ตามสภาพคุณลักษณะที่ดีของภูมิอากาศที่เหมาะสมและเกื้อกูลต่อการ เจริญเติบโตของลำไย มีการพัฒนาพันธุ์ร่วม๙๐ปีแล้วจนขณะนี้มี ลำไยมากมายหลายพันธุ์และมีการปลูกมากถึง๑๕๗,๒๒๐ไร่

ดูหัวข้อที่เกี่ยวข้อง
  • พันธุ์ลำไย

  • การปลูกลำไย

  • ประโยชน์ของลำไย
  • การทำลำไยนอกฤดู

    on พฤศจิกายน 01, 2553




    คือการทำลำไยให้ได้ราคาดี เนื่องจากผลผลิตออกมาจำนวนน้อยซึ่งเป็นช่วงจังหวะที่ตลาดต้องการสูง ผิดกับในช่วงที่ลำไยออกโดยธรรมชาติซึ่งผลผลิตออกมาพร้อมๆกันเป็นจำนวนมาก ตลาดผู้รับซื้อมักจะกดราคาและให้ราคาที่ต่ำ ผิดกับลำไยนอกฤดูถ้าผลผลิตออกในช่วงเดือน พฤศจิกายนถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ราคาค่อนข้างดี เนื่องจากตรงกับเทศกาล เช่น วันคริสมาส วันขึ้นปีใหม่และวันตรุษจีน การทำลำไยนอกฤดูส่วนมากจึงนิยมทำกันในเดือนเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม เพื่อให้เก็บเกี่ยวผลผลิตในเดือนพฤศจิกายนถึงต้นกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดต้องการสูง และอีกช่วงที่นิยมทำลำไยนอกฤดูกัน คือเดือนเดือน พฤศจิกายน เพื่อเก็บเกี่ยวก่อนลำไยธรรมชาติจะออกสู่ตลาดคือ เดือน พฤษภาคม-มิถุนายน การบังคับให้ออกดอกจึงต้องมีการเตรียมต้นให้สมบูรณ์ ก่อนที่จะราดสารโปรแตสเซียมคลอเรต โดยการกำหนดอัตราสารให้เหมาะสมและศึกษาเรียนรู้ถึงเทคนิคการผลิตลำไยนอกฤดูในแต่ละขั้น จึงจะประสบผลสำเร็จ.

    เทคนิคการการผลิตลำไยนอกฤดู
    1. การเตรียมความพร้อมต้นและการตัดแต่งกิ่ง 2. การชักนำการออกดอก 3. การดูแลรักษาเพื่อให้ผลผลิตได้คุณภาพ 4. การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
    นับเป็นเรื่องสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้กับ ต้นลำไย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแตกใบและกิ่งที่สมบูรณ์พร้อมสำหรับการออกดอก และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ สำหรับการตัดแต่งกิ่งลำไยนั้นควรตัดแต่งให้เร็วที่สุดภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยตัดกิ่งหลักที่อยู่ กลางพุ่มออก 2 – 3 กิ่ง เพื่อให้ต้นลำไย ได้รับแสงมากขึ้น และยังเป็นการช่วยชะลอความสูงของต้น จากนั้นตัดกิ่งกระโดงหรือกิ่งน้ำค้าง กิ่งที่ไม่ได้รับแสง กิ่งที่ไม่สมบูรณ์ และตัดกิ่งที่ถูกโรคหรือแมลงทำลายทิ้ง ควรให้เหลือกิ่งอยู่ประมาณ 60% ของทรงพุ่ม
    ประโยชน์ของการตัดแต่งกิ่ง มีดังนี้ คือ
    1. เร่งให้ลำไยแตกใบอ่อน ซึ่งมีผลทำให้ต้นลำไยฟื้นตัวได้เร็ว ใบใหม่ที่เกิดขึ้นจะทำหน้าที่ สร้างอาหารสะสมไว้สำหรับการออกดอกติดผลในฤดูกาลถัดไป


    การเตรียมความพร้อมต้นและการตัดแต่งกิ่ง นับเป็นเรื่องสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้กับ ต้นลำไย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแตกใบและกิ่งที่สมบูรณ์พร้อมสำหรับการออกดอก และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ สำหรับการตัดแต่งกิ่งลำไยนั้นควรตัดแต่งให้เร็วที่สุดภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยตัดกิ่งหลักที่อยู่ กลางพุ่มออก 2 – 3 กิ่ง เพื่อให้ต้นลำไย ได้รับแสงมากขึ้น และยังเป็นการช่วยชะลอความสูงของต้น จากนั้นตัดกิ่งกระโดงหรือกิ่งน้ำค้าง กิ่งที่ไม่ได้รับแสง กิ่งที่ไม่สมบูรณ์ และตัดกิ่งที่ถูกโรคหรือแมลงทำลายทิ้ง ควรให้เหลือกิ่งอยู่ประมาณ 60% ของทรงพุ่ม
    ประโยชน์ของการตัดแต่งกิ่ง มีดังนี้ คือ
    1. เร่งให้ลำไยแตกใบอ่อน ซึ่งมีผลทำให้ต้นลำไยฟื้นตัวได้เร็ว ใบใหม่ที่เกิดขึ้นจะทำหน้าที่ สร้างอาหารสะสมไว้สำหรับการออกดอกติดผลในฤดูกาลถัดไป

    ดูหัวข้อที่เกี่ยวข้อง:
  • ประวัติลำใย

  • การปลูกลำไย

  • ประโยชน์ของลำไย

  • โรคและการป้องกัน
  • การปลูกลำไย

    on ตุลาคม 30, 2553






    การปลูกลำใย

    ลำไยเป็นไม้ผลเศรษฐกิจสำคัญที่รัฐบาลจัดให้อยู่ในกลุ่ม สินค้าเพื่อการส่งออก มูลค่าการส่งออกสูงปีละหลายพันล้านบาท ทั้งในรูปลำไยสด อบแห้ง แช่แข็ง และลำไยกระป๋อง องค์ประกอบหลักขอ
    งเนื้อลำไยคือ Soluble Substances 79-77% ซึ่งประกอบด้วย กลูโคส 26.91% ซูโครส 0.22% กรดทาทาริค 1.26%
    สารประกอบไนโตรเจน 6.31% โปรตีน 5.6% ไขมัน 0.5% และธาตุอาหารอื่น ๆ เช่น Ca, Fe, P, Na, K และวิตามิน

    ปัญหาของพืช ข้อจำกัดและโอกาส
    - การแปรรูปเป็นลำไยอบแห้งบางส่วนยังไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ก่อให้เกิดปัญหาด้านการส่งออกและส่งผลกระทบถึงราคา
    - การรมควันลำไยสดด้วยสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ในปริมาณที่มากเกินไป ก่อให้เกิดปัญหาด้านการส่งออกและส่งผลกระทบถึงราคา
    - การออกดอกออกผลไม่สม่ำเสมอ ทำให้ผลผลิตไม่แน่นอนในแต่ละปี
    - ขาดแคลนแรงงานในการเก็บเกี่ยว
    - ผลผลิตต่อไร่ต่ำ
    - ผลผลิตกระจุกตัวออกสู่ตลาดพร้อมกันในระยะเวลาอันสั้น ส่งผลให้ราคาตกต่ำในช่วงดังกล่าว
    - คุณภาพของผลผลิตบางส่วนไม่ได้มาตรฐานส่งออก
    การกระจายผลผลิตไปสู่ผู้บริโภคภายในประเทศยังไม่ทั่วถึง
    ขาดห้องเย็นสำหรับเก็บรักษาผลผลิตเพื่อรอการจำหน่าย/แปรรูป
    - ผู้ประกอบการลำไยอบแห้ง ขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียน ในการดำเนินการทำให้ขาดอำนาจการต่อรองในการซื้อขาย
    การผลิต
    - ประเทศที่สามารถผลิตลำไยได้คือ ไทย สาธารณรัฐประชาชนจีน เวียดนามและไต้หวัน โดยเฉพาะจีนถือได้ว่าเป็นประเทศคู่ค้าและคู่แข่งในเรื่องลำไยที่สำคัญที่สุด ของประเทศไทย

    ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกลำไยกระจายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แหล่งปลูกลำไยที่สำคัญคือจังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย ลำปาง แพร่ น่าน และตาก นอกนั้นปลูกในภาคอื่น ๆ
    เช่น เลย จันทบุรี และสระแก้ว พันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูกมากที่สุดคือ พันธุ์ดอ รองลงมาคือ พันธุ์ สีชมพูและเบี้ยวเขียว

    การตลาด
    ประเทศจีน มีความต้องการบริโภคลำไยสดปีละประมาณ 0.20-0.25 ล้านตัน สำหรับลำไยอบแห้งความต้องการบริโภคคาดว่าปีละประมาณ 0.05 ล้านตัน ส่
    ่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศไทยและเวียดนาม ประเทศเวียดนาม มีความต้องการบริโภคในประเทศ ประมาณร้อยละ 50 ของผลผลิตที่ได้ ซึ่งอยู่ในรูปลำไยสด และน้ำลำไยกระป๋อง
     ส่วนที่เหลือส่งออกไปยังประเทศจีนและฮ่องกงในรูปแบบลำไยอบแห้ง โดยส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อลำไยอบแห้งประมาณปีละ 10,000 ตัน และลำไยอบแห้งทั้งปีประมาณ
     0.0005-0.0010 ล้านตัน
    ผลผลิตลำไยสดในแต่ละปีจะใช้บริโภคภายในประเทศเพียง 30% ส่งออกในรูปผลสดและผลิตภัณฑ์ 70% และไม่มีการนำเข้าประเทศเลย

    ตลาดส่งออกลำไยสด ลำไยอบแห้ง ลำไยแช่แข็งและลำไยกระป๋องของประเทศไทย


    ประเภท ตลาดส่งออกลำไย
    ลำไยสด ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์
    ลำไยอบแห้ง จีน ฮ่องกง เวียดนาม สิงคโปร์
    ลำไยแช่แข็ง สหรัฐอเมริกา
    ลำไยกระป๋อง มาเลเซีย

    พันธุ์
    พันธุ์ดอ :
    เป็นพันธุ์เบา ทำให้ชาวสวนนิยมปลูกมากที่สุด เจริญเติบโตดี ยอดอ่อนมีทั้งยอดสีเขียวและสีแดงลำต้นแข็งแรงเปลือกผลหนา ออกดอกติดผลค่อนข้างสม่ำเสมอ
    ทรงผลกลมแป้นและเบี้ยวยกบ่าข้างเดียว ผิวผลสีน้ำตาล มีกระหรือตาห่าง เนื้อค่อนข้างเหนียว สีขาวขุ่น เมล็ดใหญ่ ปานกลาง

    พันธุ์สีชมพู :
    เป็นพันธุ์กลางทรงพุ่มสูง โปร่ง กิ่งเปราะหักง่าย ออกดอกง่าย แต่ติดผลไม่สม่ำเสมอ ทรงผลค่อนข้างกลม ผิวสีน้ำตาลอมแดง เนื้อหนาปานกลาง นิ่มและกรอบ สีชมพูเรื่อๆ รสหวานและหอม
     เมล็ดค่อนข้างเล็ก

    พันธุ์แห้ว :
    เป็นพันธุ์หนักเจริญเติบโตดีมากยอดอ่อนมีทั้งสีแดงและสีเขียว ผลขนาดใหญ่ ทรงผลกลมและเบี้ยว ฐานผลบุ๋ม เปลือกสีน้ำตาล และหนา เนื้อหนา กรอบและล่อน รสหวานแหลมและหอม
    เมล็ดค่อนข้างเล็ก

    พันธุ์เบี้ยวเขียว :
    เป็นพันธุ์หนัก เจริญเติบโตดี ทนแล้งได้ดี แต่jอ่อนแอต่อโรคพุ่มไม้กวาด ออกดอกยากและมักเว้นปี สามารถแบ่งเป็นเบี้ยวเขียวก้านแข็งและก้านอ่อน ผลมีขนาดใหญ่ ทรงผลกลมแบนเบี้ยวมาก
    เปลือกสีเขียวอมน้ำตาลและหนาเนื้อหนา กรอบและล่อน รสหวานแหลมและหอม เมล็ดค่อนข้างเล็ก

    พันธุ์เพชรสาคร :
    เป็นพันธุ์ทะวายคือออกดอกมากกว่าหนึ่งครั้งต่อปี ใบมีขนาดเล็กและเรียวแหลม ผลกลม เปลือกบาง เนื้อสีขาวฉ่ำน้ำ รสหวาน
    การปลูก
    การเตรียมพื้นที่ :
    ควรเตรียมต้นพันธุ์ดีไว้ล่วงหน้า 1 ปี เตรียมหลุมปลูก ขนาด 80x80x80 ซม.ใช้ระยะปลูก 8x10 เมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 3-5 กก./หลุม พื้นดินสูงจากปากหลุม 15 ซม.
    วิธีปลูก :
    วางต้นพันธุ์แล้วกลบโคนให้แน่น ทำหลักป้องกันโยกคลอน รดน้ำให้ชุ่ม พรางแสงช่วงแรก

    ช่วงฤดูแล้งหลังออกดอกในสัปดาห์แรกให้พรมน้ำเล็กน้อยและค่อยเพิ่มปริมาณ เมื่อเข้าสัปดาห์ที่สอง จึงเริ่มให้น้ำอย่างเต็มที่คือต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 7 เมตร
    ให้น้ำ ครั้งละ 200-300 ลิตร/ต้น สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
    การตัดแต่งกิ่ง
    อายุ 1-3 ปี ตัดแต่งให้มีลักษณะทรงพุ่มกลม
    อายุ 4-5 ปีขึ้นไป ตัดแต่งกิ่งภายหลังเก็บเกี่ยวโดยตัดกิ่งกลางทรงพุ่มออก พร้อมทั้งตัดกิ่งที่ถูกทำลายจากโรค-แมลงทิ้ง




    การตัดแต่งกิ่ง

    on กันยายน 28, 2553


    การเตรียมความพร้อมต้นและการตัดแต่งกิ่ง นับเป็นเรื่องสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้กับ ต้นลำไย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแตกใบและกิ่งที่สมบูรณ์พร้อมสำหรับการออกดอก และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ สำหรับการตัดแต่งกิ่งลำไยนั้นควรตัดแต่งให้เร็วที่สุดภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยตัดกิ่งหลักที่อยู่ กลางพุ่มออก 2 – 3 กิ่ง เพื่อให้ต้นลำไย ได้รับแสงมากขึ้น และยังเป็น



    การช่วยชะลอความสูงของต้น จากนั้นตัดกิ่งกระโดงหรือกิ่งน้ำค้าง กิ่งที่ไม่ได้รับแสง กิ่งที่ไม่สมบูรณ์ และตัดกิ่งที่ถูกโรคหรือแมลงทำลายทิ้ง ควรให้เหลือกิ่งอยู่ประมาณ 60% ของทรงพุ่ม
    ประโยชน์ของการตัดแต่งกิ่ง มีดังนี้ คือ
    1. เร่งให้ลำไยแตกใบอ่อน ซึ่งมีผลทำให้ต้นลำไยฟื้นตัวได้เร็ว ใบใหม่ที่เกิดขึ้นจะทำหน้าที่ สร้างอาหารสะสมไว้สำหรับการออกดอกติดผลในฤดูกาลถัดไป

    2. ช่วยควบคุมความสูงของทรงพุ่ม การที่ทรงพุ่มเตี้ยทำให้ง่ายต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิต สะดวก ต่อการดูแลรักษา และช่วยลดค่าใช้จ่ายในเรื่องไม้ค้ำยันกิ่ง ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง
    3. ลดการระบาดของโรคและแมลง เช่น โรคราดำ โรคจุดสาหร่ายสนิม และไลเคนส์ เป็นต้น
    4. การตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่งทำให้แสงส่องเข้าไปในทรงพุ่มได้ จะช่วยให้ต้นลำไยตอบสนอง ต่อสารโพแทสเซียมคลอเรตได้ดี ทำให้ลำไยออกดอกมากขึ้น แม้ว่าปริมาณการใช้สารลดลง
    5. ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดี ได้ผลขนาดใหญ่ขึ้น และคุณภาพผลผลิตโดยรวมดีขึ้นด้วย

    มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีการตัดแต่งกิ่งลำไย ซึ่งเกษตรกรสามารถทำได้หลายวิธี โดยเฉพาะการตัดแต่งกิ่ง “ทรงฝาชีหงาย” วิธีนี้มีข้อดีหลายอย่าง อาทิ ต้นลำไยจะมีทรงเตี้ย สามารถควบคุมความสูงของทรงพุ่มใหญ่ให้อยู่ในระดับเดิมได้ทุกปี ทั้งยังช่วยกระตุ้นการแตกใบให้เร็วขึ้น ผลผลิตที่ได้จะมีคุณภาพดี โดยเฉพาะผลลำไยที่เกิดจากกิ่ง
    กระโดงในทรงพุ่มจะมีผิวสีเหลืองทอง เป็นที่ต้องการของตลาด และสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ 20 – 50% ด้วย
    การตัดแต่งทรงฝาชีหงายทำได้โดยตัดกิ่งที่อยู่กลางทรงพุ่มออกให้หมด ให้เหลือเฉพาะกิ่งที่เจริญในแนวนอน จากนั้นจะเกิดกิ่งใหม่ขึ้นตามกิ่งหลักที่เจริญในแนวนอน เรียกกิ่งที่เกิดขึ้นว่า กิ่งกระโดง ซึ่งจะออกดอกได้ภายใน 4 – 6 เดือนหลังตัดแต่ง และช่อผลลำไยที่เกิดจากกิ่งกระโดงเมื่อผลใกล้แก่จะโน้มลง หลบเข้าในทรงพุ่ม ทำให้ผลลำไยมีขนาดใหญ่และมีสีเหลืองทอง
    นอกจากทรงฝาชีหงายแล้ว ยังสามารถตัดแต่งกิ่งทรง “เปิดกลางพุ่ม” โดยตัดแต่งกิ่งที่อยู่ กลางทรงพุ่มออก 2 – 5 กิ่ง เพื่อลดความสูงของต้น และให้แสงแดดส่องเข้าในทรงพุ่ม แล้วตัดแต่งกิ่งที่อยู่ด้านในทรงพุ่มที่ไม่ได้รับแสง ควรตัดกิ่งที่มีขนาดใหญ่ทางด้านข้างของทรงพุ่มออกบ้าง เพื่อให้แสงส่อง เข้าไปในทรงพุ่ม ขณะเดียวกันต้องตัดกิ่งที่ถูกโรคแมลงทำลาย ตัดกิ่งที่ไขว้กัน กิ่งซ้อนทับ และกิ่งที่ชี้ลง ออกด้วย
    สำหรับสวนที่มีต้นลำไยอายุน้อยและปลูกระยะชิด เกษตรกรอาจตัดแต่งกิ่ง “ทรงสี่เหลี่ยม” โดยกำหนดความสูงของทรงพุ่มอยู่ในช่วง 2 – 3 เมตร โดยนำไม้ไผ่ทำเครื่องหมายตามความสูงที่ต้องการ แล้วนำไปทาบที่ต้นลำไย กิ่งที่สูงเกินเครื่องหมายก็ตัดออกให้หมด จากนั้นตัดปลายกิ่งด้านข้างทรงพุ่มทั้งสี่ด้าน ขึ้นอยู่กับระยะปลูก และทรงพุ่มเดิม โดยทั่วไปแนะนำให้ตัดลึกจากปลายกิ่งประมาณ 30 – 50 เซนติเมตร รูปทรงที่ได้จะเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายหลังการตัดแต่งกิ่งประมาณ 2 สัปดาห์
    ต้นลำไยจะเริ่มแตกใบ ถ้าต้องการให้ต้นลำไยสมบูรณ์เต็มที่ควรให้มีการแตกใบ 3 ครั้ง ใช้เวลาประมาณ 6 เดือน นับตั้งแต่ตัดแต่งกิ่งก็สามารถชักนำการออกดอกได้ หลังตัดแต่งกิ่งต้องเร่งบำรุงต้น โดยให้ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก) อัตรา 10-20 กิโลกรัม ต่อต้น ควบคู่กับปุ๋ยเคมี ซึ่งในระยะนี้ต้นลำไยต้องการธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม คิดเป็นสัดส่วน 4:1:3 สูตรปุ๋ยเคมีที่แนะนำให้ใช้ควรเน้นธาตุไนโตรเจนและโพแทสเซียม เช่น สูตร 46-0-0,15-15-15 และ 0-0-60 ส่วนอัตราการใช้ขึ้นอยู่กับขนาดทรงพุ่ม อย่างไรก็ตาม ปีนี้หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว เกษตรกรควรวางแผนการผลิต รีบเตรียมความพร้อมต้น เร่งตัดแต่งกิ่งเพื่อผลิตลำไยนอกฤดูคุณภาพป้อนตลาด พื่อโอกาสที่ดีที่รออยู่ข้างหน้าต่อไป





    ดูหัวข้อที่เกี่ยวข้อง:

  • ประวัติลำใย




  • การปลูกลำไย




  • ประโยชน์ของลำไย




  • โรคและการป้องกัน

  • การราดสาร




    การชักนำการออกดอก

    หลังจากเตรียมต้นลำไยให้สมบูรณ์พร้อมที่จะผลิตลำไยทั้งในและนอกฤดู ขั้นตอนต่อไปคือ การชักนำให้ลำไยออกดอก เป็นที่ทราบกันดีว่าสารโพแทสเซียมคลอเรตมีคุณสมบัติชักนำให้ลำไยออกดอกได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาอากาศหนาวเย็น จึงทำให้เกิดการผลิตลำไยนอกฤดูขึ้น เกษตรกรที่ให้สาร คลอเรตในปีแรก พบว่าประสบผลสำเร็จสามารถชักนำให้ลำไยออกดอกได้แทบทุกต้นแต่ในปีต่อๆ มากลับพบปัญหาคือการให้สารซ้ำในที่เดิมต้นลำไยออกดอกน้อยลงหรือไม่ออกดอก ทำให้เกษตกรเกิดความคิดว่าจะต้องเพิ่มปริมาณสารทุกปีแต่การปฏิบัติเช่นนี้ก็ ยังไม่สามารถแก้ปัญหาลงได้ เกษตรกรบางรายให้สารนี้ในอัตราที่สูงกลับออกดอกน้อยกว่าสวนลำไยที่ให้อัตรา ต่ำกว่า แสดงให้เห็นว่าการตอบสนองต่อสารโพแทสเซียมคลอเรตไม่ได้ขึ้นอยู่กับอัตราการ ใช้เพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายประการ ซึ่งเกษตรกรควรศึกษาและให้ความสำคัญเพราะจะได้นำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

    การตอบสนองของลำไยต่อสารโพแทสเซียมคลอเรต
    ต้นลำไยที่ได้รับสารโพแทสเซียมคลอเรตจะออกดอกได้ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้
    1. อายุของใบ การให้สารโพแทสเซียมคลอเรตกับต้นลำไยในระยะใบอ่อนมักพบว่าเปอร์เซ็นต์การออก ดอกต่ำและแทงช่อดอกช้า เนื่องจากใบอ่อนอาจมีสารยับยั้งการออกดอก จากการทดลองสรุปได้ว่าระยะใบที่เหมาะสมต่อการให้สารควรมีอายุใบอย่างน้อย 3 สัปดาห์



    2. ฤดูกาลให้สาร การให้สารในช่วงฤดูร้อน (มี.ค. – พ.ค.) และฤดูหนาว (ต.ค.- ม.ค.) พบว่าลำไยจะออกดอกได้ดี แต่ถ้าให้สารในช่วงฤดูฝน (มิ.ย. – ก.ย.) กลับพบว่าลำไยออกดอกได้น้อยหรือบางต้นไม่ออกดอกโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นลำไยที่ มีอายุมาก จากข้อมูลดังกล่าวมีข้อแนะนำ คือ ควรกำหนดปริมาณสารให้เหมาะสมกับฤดูกาล เช่นช่วงฤดูหนาวควรให้สารในอัตราต่ำ ช่วงฤดูร้อนอัตราปานกลางและฤดูฝนให้อัตราสูง นอกจากนี้ไม่ควรให้สารกับต้นลำไยที่มีอายุมากในฤดูฝนเพราะจะตอบสนองไม่ดี เท่ากับลำไยที่มีอายุน้อย สำหรับอัตราการใช้สารแสดงในตารางที่ 3.1

    ตารางที่ 3.1 ข้อแนะนำการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตกับต้นลำไยที่มีขนาดทรงพุ่มต่าง ๆ

    เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 3 เมตร อัตราการใช้ 50 – 150 กรัม
    4 " " 100 –250 "
    5 " " 150 –400 "
    6 " " 250 –500 "
    7 " "300 –750 "
    8 " "400–1,000"
    9" "500–1,250
    10" "600- 1,500


    * อัตราที่แนะนำประยุกต์จากงานทดลองที่ใช้ในอัตรา 8 – 20 กรัมต่อตารางเมตรของพื้นที่ทรงพุ่ม

    3. แสง ต้นลำไยที่ให้สารโพแทสเซียมคลอเรตในสภาพที่มีแสงจะออกดอกได้ดีกว่าในสภาพ ครึ้มฟ้าครึ้มฝน ข้อแนะนำที่จะนำไปประยุกต์ใช้ คือ ตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มลำไยโปร่งให้แสงกระจายทั่วทรงพุ่มและยังเป็นการลด จำนวนกิ่งต่อต้นลงทำให้ลำไยออกดอกได้ดี นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการให้สารคลอเรตในช่วงครึ้มฟ้าครึ้มฝนหรือช่วงที่ฝน ตกชุก
    4. พันธุ์ ลำไยพันธุ์สีชมพูจะตอบสนองต่อสารโพแทสเซียมคลอเรตได้ดีกว่าพันธุ์อีดอ ดังนั้นจึงควรลดปริมาณสารลงครึ่งหนึ่งของอัตราที่ใช้ได้ผลกับพันธุ์อีดอ
    5. เทคนิคและวิธีการให้สาร ถึงแม้การให้สารโพแทสเซียมคลอเรตสามารถให้ได้หลายวิธี เช่น ทางดิน ทางใบ และฉีดเข้าลำต้น แต่วิธีที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ทางดิน
    ที่มา:http://icomm.eng.cmu.ac.th
    ดูหัวข้อที่เกี่ยวข้อง :
  • ประวัติลำใย

  • พันธุ์ลำไย

  • การปลูกลำไย

  • โรคและการป้องกัน