การทำลำไยนอกฤดู

on พฤศจิกายน 01, 2553




คือการทำลำไยให้ได้ราคาดี เนื่องจากผลผลิตออกมาจำนวนน้อยซึ่งเป็นช่วงจังหวะที่ตลาดต้องการสูง ผิดกับในช่วงที่ลำไยออกโดยธรรมชาติซึ่งผลผลิตออกมาพร้อมๆกันเป็นจำนวนมาก ตลาดผู้รับซื้อมักจะกดราคาและให้ราคาที่ต่ำ ผิดกับลำไยนอกฤดูถ้าผลผลิตออกในช่วงเดือน พฤศจิกายนถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ราคาค่อนข้างดี เนื่องจากตรงกับเทศกาล เช่น วันคริสมาส วันขึ้นปีใหม่และวันตรุษจีน การทำลำไยนอกฤดูส่วนมากจึงนิยมทำกันในเดือนเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม เพื่อให้เก็บเกี่ยวผลผลิตในเดือนพฤศจิกายนถึงต้นกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดต้องการสูง และอีกช่วงที่นิยมทำลำไยนอกฤดูกัน คือเดือนเดือน พฤศจิกายน เพื่อเก็บเกี่ยวก่อนลำไยธรรมชาติจะออกสู่ตลาดคือ เดือน พฤษภาคม-มิถุนายน การบังคับให้ออกดอกจึงต้องมีการเตรียมต้นให้สมบูรณ์ ก่อนที่จะราดสารโปรแตสเซียมคลอเรต โดยการกำหนดอัตราสารให้เหมาะสมและศึกษาเรียนรู้ถึงเทคนิคการผลิตลำไยนอกฤดูในแต่ละขั้น จึงจะประสบผลสำเร็จ.

เทคนิคการการผลิตลำไยนอกฤดู
1. การเตรียมความพร้อมต้นและการตัดแต่งกิ่ง 2. การชักนำการออกดอก 3. การดูแลรักษาเพื่อให้ผลผลิตได้คุณภาพ 4. การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
นับเป็นเรื่องสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้กับ ต้นลำไย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแตกใบและกิ่งที่สมบูรณ์พร้อมสำหรับการออกดอก และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ สำหรับการตัดแต่งกิ่งลำไยนั้นควรตัดแต่งให้เร็วที่สุดภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยตัดกิ่งหลักที่อยู่ กลางพุ่มออก 2 – 3 กิ่ง เพื่อให้ต้นลำไย ได้รับแสงมากขึ้น และยังเป็นการช่วยชะลอความสูงของต้น จากนั้นตัดกิ่งกระโดงหรือกิ่งน้ำค้าง กิ่งที่ไม่ได้รับแสง กิ่งที่ไม่สมบูรณ์ และตัดกิ่งที่ถูกโรคหรือแมลงทำลายทิ้ง ควรให้เหลือกิ่งอยู่ประมาณ 60% ของทรงพุ่ม
ประโยชน์ของการตัดแต่งกิ่ง มีดังนี้ คือ
1. เร่งให้ลำไยแตกใบอ่อน ซึ่งมีผลทำให้ต้นลำไยฟื้นตัวได้เร็ว ใบใหม่ที่เกิดขึ้นจะทำหน้าที่ สร้างอาหารสะสมไว้สำหรับการออกดอกติดผลในฤดูกาลถัดไป


การเตรียมความพร้อมต้นและการตัดแต่งกิ่ง นับเป็นเรื่องสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้กับ ต้นลำไย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแตกใบและกิ่งที่สมบูรณ์พร้อมสำหรับการออกดอก และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ สำหรับการตัดแต่งกิ่งลำไยนั้นควรตัดแต่งให้เร็วที่สุดภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยตัดกิ่งหลักที่อยู่ กลางพุ่มออก 2 – 3 กิ่ง เพื่อให้ต้นลำไย ได้รับแสงมากขึ้น และยังเป็นการช่วยชะลอความสูงของต้น จากนั้นตัดกิ่งกระโดงหรือกิ่งน้ำค้าง กิ่งที่ไม่ได้รับแสง กิ่งที่ไม่สมบูรณ์ และตัดกิ่งที่ถูกโรคหรือแมลงทำลายทิ้ง ควรให้เหลือกิ่งอยู่ประมาณ 60% ของทรงพุ่ม
ประโยชน์ของการตัดแต่งกิ่ง มีดังนี้ คือ
1. เร่งให้ลำไยแตกใบอ่อน ซึ่งมีผลทำให้ต้นลำไยฟื้นตัวได้เร็ว ใบใหม่ที่เกิดขึ้นจะทำหน้าที่ สร้างอาหารสะสมไว้สำหรับการออกดอกติดผลในฤดูกาลถัดไป

ดูหัวข้อที่เกี่ยวข้อง:
  • ประวัติลำใย

  • การปลูกลำไย

  • ประโยชน์ของลำไย

  • โรคและการป้องกัน
  • 0 ความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น