การปลูกลำไย

on ตุลาคม 30, 2553






การปลูกลำใย

ลำไยเป็นไม้ผลเศรษฐกิจสำคัญที่รัฐบาลจัดให้อยู่ในกลุ่ม สินค้าเพื่อการส่งออก มูลค่าการส่งออกสูงปีละหลายพันล้านบาท ทั้งในรูปลำไยสด อบแห้ง แช่แข็ง และลำไยกระป๋อง องค์ประกอบหลักขอ
งเนื้อลำไยคือ Soluble Substances 79-77% ซึ่งประกอบด้วย กลูโคส 26.91% ซูโครส 0.22% กรดทาทาริค 1.26%
สารประกอบไนโตรเจน 6.31% โปรตีน 5.6% ไขมัน 0.5% และธาตุอาหารอื่น ๆ เช่น Ca, Fe, P, Na, K และวิตามิน

ปัญหาของพืช ข้อจำกัดและโอกาส
- การแปรรูปเป็นลำไยอบแห้งบางส่วนยังไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ก่อให้เกิดปัญหาด้านการส่งออกและส่งผลกระทบถึงราคา
- การรมควันลำไยสดด้วยสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ในปริมาณที่มากเกินไป ก่อให้เกิดปัญหาด้านการส่งออกและส่งผลกระทบถึงราคา
- การออกดอกออกผลไม่สม่ำเสมอ ทำให้ผลผลิตไม่แน่นอนในแต่ละปี
- ขาดแคลนแรงงานในการเก็บเกี่ยว
- ผลผลิตต่อไร่ต่ำ
- ผลผลิตกระจุกตัวออกสู่ตลาดพร้อมกันในระยะเวลาอันสั้น ส่งผลให้ราคาตกต่ำในช่วงดังกล่าว
- คุณภาพของผลผลิตบางส่วนไม่ได้มาตรฐานส่งออก
การกระจายผลผลิตไปสู่ผู้บริโภคภายในประเทศยังไม่ทั่วถึง
ขาดห้องเย็นสำหรับเก็บรักษาผลผลิตเพื่อรอการจำหน่าย/แปรรูป
- ผู้ประกอบการลำไยอบแห้ง ขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียน ในการดำเนินการทำให้ขาดอำนาจการต่อรองในการซื้อขาย
การผลิต
- ประเทศที่สามารถผลิตลำไยได้คือ ไทย สาธารณรัฐประชาชนจีน เวียดนามและไต้หวัน โดยเฉพาะจีนถือได้ว่าเป็นประเทศคู่ค้าและคู่แข่งในเรื่องลำไยที่สำคัญที่สุด ของประเทศไทย

ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกลำไยกระจายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แหล่งปลูกลำไยที่สำคัญคือจังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย ลำปาง แพร่ น่าน และตาก นอกนั้นปลูกในภาคอื่น ๆ
เช่น เลย จันทบุรี และสระแก้ว พันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูกมากที่สุดคือ พันธุ์ดอ รองลงมาคือ พันธุ์ สีชมพูและเบี้ยวเขียว

การตลาด
ประเทศจีน มีความต้องการบริโภคลำไยสดปีละประมาณ 0.20-0.25 ล้านตัน สำหรับลำไยอบแห้งความต้องการบริโภคคาดว่าปีละประมาณ 0.05 ล้านตัน ส่
่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศไทยและเวียดนาม ประเทศเวียดนาม มีความต้องการบริโภคในประเทศ ประมาณร้อยละ 50 ของผลผลิตที่ได้ ซึ่งอยู่ในรูปลำไยสด และน้ำลำไยกระป๋อง
 ส่วนที่เหลือส่งออกไปยังประเทศจีนและฮ่องกงในรูปแบบลำไยอบแห้ง โดยส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อลำไยอบแห้งประมาณปีละ 10,000 ตัน และลำไยอบแห้งทั้งปีประมาณ
 0.0005-0.0010 ล้านตัน
ผลผลิตลำไยสดในแต่ละปีจะใช้บริโภคภายในประเทศเพียง 30% ส่งออกในรูปผลสดและผลิตภัณฑ์ 70% และไม่มีการนำเข้าประเทศเลย

ตลาดส่งออกลำไยสด ลำไยอบแห้ง ลำไยแช่แข็งและลำไยกระป๋องของประเทศไทย


ประเภท ตลาดส่งออกลำไย
ลำไยสด ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์
ลำไยอบแห้ง จีน ฮ่องกง เวียดนาม สิงคโปร์
ลำไยแช่แข็ง สหรัฐอเมริกา
ลำไยกระป๋อง มาเลเซีย

พันธุ์
พันธุ์ดอ :
เป็นพันธุ์เบา ทำให้ชาวสวนนิยมปลูกมากที่สุด เจริญเติบโตดี ยอดอ่อนมีทั้งยอดสีเขียวและสีแดงลำต้นแข็งแรงเปลือกผลหนา ออกดอกติดผลค่อนข้างสม่ำเสมอ
ทรงผลกลมแป้นและเบี้ยวยกบ่าข้างเดียว ผิวผลสีน้ำตาล มีกระหรือตาห่าง เนื้อค่อนข้างเหนียว สีขาวขุ่น เมล็ดใหญ่ ปานกลาง

พันธุ์สีชมพู :
เป็นพันธุ์กลางทรงพุ่มสูง โปร่ง กิ่งเปราะหักง่าย ออกดอกง่าย แต่ติดผลไม่สม่ำเสมอ ทรงผลค่อนข้างกลม ผิวสีน้ำตาลอมแดง เนื้อหนาปานกลาง นิ่มและกรอบ สีชมพูเรื่อๆ รสหวานและหอม
 เมล็ดค่อนข้างเล็ก

พันธุ์แห้ว :
เป็นพันธุ์หนักเจริญเติบโตดีมากยอดอ่อนมีทั้งสีแดงและสีเขียว ผลขนาดใหญ่ ทรงผลกลมและเบี้ยว ฐานผลบุ๋ม เปลือกสีน้ำตาล และหนา เนื้อหนา กรอบและล่อน รสหวานแหลมและหอม
เมล็ดค่อนข้างเล็ก

พันธุ์เบี้ยวเขียว :
เป็นพันธุ์หนัก เจริญเติบโตดี ทนแล้งได้ดี แต่jอ่อนแอต่อโรคพุ่มไม้กวาด ออกดอกยากและมักเว้นปี สามารถแบ่งเป็นเบี้ยวเขียวก้านแข็งและก้านอ่อน ผลมีขนาดใหญ่ ทรงผลกลมแบนเบี้ยวมาก
เปลือกสีเขียวอมน้ำตาลและหนาเนื้อหนา กรอบและล่อน รสหวานแหลมและหอม เมล็ดค่อนข้างเล็ก

พันธุ์เพชรสาคร :
เป็นพันธุ์ทะวายคือออกดอกมากกว่าหนึ่งครั้งต่อปี ใบมีขนาดเล็กและเรียวแหลม ผลกลม เปลือกบาง เนื้อสีขาวฉ่ำน้ำ รสหวาน
การปลูก
การเตรียมพื้นที่ :
ควรเตรียมต้นพันธุ์ดีไว้ล่วงหน้า 1 ปี เตรียมหลุมปลูก ขนาด 80x80x80 ซม.ใช้ระยะปลูก 8x10 เมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 3-5 กก./หลุม พื้นดินสูงจากปากหลุม 15 ซม.
วิธีปลูก :
วางต้นพันธุ์แล้วกลบโคนให้แน่น ทำหลักป้องกันโยกคลอน รดน้ำให้ชุ่ม พรางแสงช่วงแรก

ช่วงฤดูแล้งหลังออกดอกในสัปดาห์แรกให้พรมน้ำเล็กน้อยและค่อยเพิ่มปริมาณ เมื่อเข้าสัปดาห์ที่สอง จึงเริ่มให้น้ำอย่างเต็มที่คือต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 7 เมตร
ให้น้ำ ครั้งละ 200-300 ลิตร/ต้น สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
การตัดแต่งกิ่ง
อายุ 1-3 ปี ตัดแต่งให้มีลักษณะทรงพุ่มกลม
อายุ 4-5 ปีขึ้นไป ตัดแต่งกิ่งภายหลังเก็บเกี่ยวโดยตัดกิ่งกลางทรงพุ่มออก พร้อมทั้งตัดกิ่งที่ถูกทำลายจากโรค-แมลงทิ้ง




0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น