โรคและการป้องกันกำจัด

on กันยายน 26, 2553




โรคที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

โรคราน้ำฝนหรือโรคผลเน่า :
ทำให้ผลเน่าและร่วง สามารถป้องกันกำจัดด้วยสารเมทาเเลกซิล สาเหตุ เชื้อรา ลักษณะอาการ เมื่อเชื้อราเข้าทำลายที่ผลจะทำให้ผลเน่าและร่วง แผลมีสีน้ำตาล เข้าทำลายที่ใบอ่อนยอดอ่อน จะเป็นแผลไหม้สีน้ำตาลดำ ขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน
เชื้อราสร้างเส้นใยและสปอร์สีขาวฟูบนแผลที่ผล ช่วงเวลาระบาดฤดูฝนช่วงที่มีฝนตกชุก
การป้องกันกำจัด
- ปลูกลำไยให้มีระยะห่างที่พอเหมาะ ไม่ปลูกชิดเกินไป
- ตัดแต่งกิ่งภายในทรงพุ่มให้แสงแดดส่องถึงโคนต้น และกำจัดวัชพืชภายใต้ทรงพุ่ม
- บำรุงรักษาต้นลำไยให้เจริญเติบโตแข็งแรง โดยการใส่ปุ๋ย ให้น้ำ ในช่วงที่อากาศแห้งแล้งและพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชและสารฆ่าแมลงอย่างสม่ำ เสมอ
- เก็บผล และใบลำไยที่เป็นโรคซึ่งร่วงหล่นบนพื้นดินภายใต้ทรงพุ่ม เผาทำลายนอกแปลงปลูก ควบคุมโรคโดยชีววิธี ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา หรือเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์บาซิลลัส ผสมน้ำพ่น ให้ทั่วทั้งต้นพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช ตามคำแนะนำ การใช้สารป้องกันกำจัด ใช้เมตาแลกซิล+แมนโคเซบ(72%WP) อัตราการใช้ 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นผิวดินบริเวณโคนต้นลำไย หยุดการใช้สารก่อนเก็บเกี่ยว 14 วัน

โรครากและโคนเน่า :
ต้นเหลืองทรุดโทรม รากและโคนต้นเน่า ยืนต้นแห้งตายอย่างรวดเร็ว การป้องกันกำจัดโดยใช้ สารไซม๊อกซานิล+แมนโคเซบ (72% WP)
สาเหตุ เชื้อรา
ลักษณะอาการ ต้นเหลืองทรุดโทรม รากและโคนต้นเน่า มีสีน้ำตาลปนม่วงและมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวต้นลำไยที่เป็นโรคจะยืนต้นแห้ง ตายอย่างรวดเร็ว ช่วงเวลาที่ระบาด ฤดูฝนที่มีฝนตกชุกติดต่อกันหลายวัน การป้องกันกำจัด - ปฏิบัติเหมือนการป้องกันกำจัดโรคราน้ำฝนหรือโรคผลเน่า
- หลีกเลี่ยงการขุดดินภายใต้ทรงพุ่มซึ่งจะทำให้รากขาด
- หมั่นตรวจแปลงโดยสม่ำเสมอ และกำจัดต้นที่เป็นโรคทันทีโดยขุดแล้วเผาทำลาย
- ควบคุมโรคโดยชีววิธี โดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา หรือเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์บาซิลลัส ผสมคลุกเคล้ากับดินในทรงพุ่ม และผสมน้ำพ่นให้ทั่วต้นที่เป็นโรคและต้นข้างเคียง
- พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช ตามคำแนะนำ
การใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช ไซม๊อกซานิล+แมนโคเซบ(72%WP) 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นผิวดินบริเวณโคนต้นลำไย หยุดการใช้สารก่อนเก็บเกี่ยว 14 วัน

โรคผลเน่าสีน้ำตาล :
ผลเน่าแล้วร่วง แผลสีน้ำตาล ขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน ป้องกันกำจัดโดยใช้จุนสี+โซดาซักผ้า สาเหตุ เชื้อรา ลักษณะอาการ ผลเน่าแล้วร่วง แผลสีน้ำตาล ขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน ไม่พบเส้นใยและสปอร์ของเชื้อบนแผล ช่วงเวลาระบาด ฤดูฝนช่วงที่มีฝนตกชุก การป้องกันกำจัด - ปฏิบัติเหมือนการป้องกันกำจัดโรคผลเน่าและใบไหม้ - พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชตามคำแนะนำ
การใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช จุนสี+โซดาซักผ้า 0.4-0.6%+0.2% ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นผิวดินบริเวณโคนต้นลำไย

โรคพุ่มไม้กวาด:




เกิดอาการแตกยอดฝอยและทำให้ต้นทรุดโทรม ป้องกันกำจัดโดยการตัดแต่งกิ่งเป็นโรคเผาทำลาย พ่นด้วยกำมะถันผงหรืออามีทราซ ควรเลือกกิ่งพันธุ์ที่ไม่เป็นโรคนี้ สาเหตุ เชื้อไฟโตพลาสมา ลักษณะอาการ ส่วนที่เป็นตาเกิดอาการแตกยอดฝอย เป็นมัดไม้กวาด หากเป็นรุนแรงทำให้ต้นลำไยทรุดโทรม ช่วงเวลาระบาด เดือนกุมภาพันธุ์-พฤษภาคม โดยมีไรลำไยเป็นพาหะนำโรค
การป้องกันกำจัด
- ขยายพันธุ์ปลูกจากต้นแม่พันธุ์ที่ปลอดโรค
- ตัดกิ่งเป็นโรคออกเผาทำลาย
- พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช ตามคำแนะนำ
- พ่นสารป้องกันกำจัดไร ซึ่งเป็นพาหะของโรค ตามคำแนะนำในการป้องกันกำจัดไร
การใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช
ใช้กำมะถันผง (80% WP) 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

แมลงศัตรูที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

ผีเสื้อมวนหวาน :
ทำลายผลในช่วงเดือนเมษายน-สิงหาคม ป้องกันกำจัดด้วยการห่อผลด้วยกระดาษ ใช้เหยื่อพิษชุบสารคาร์บาริล หรือใช้แสงไฟล่อผีเสื้อ ลักษณะและการทำลาย เป็นผีเสื้อกลางคืน ขนาดปีกกว้าง 3-5 ซม. ปีกคู่หน้าสีน้ำตาล คู่หลังสีเหลืองทอง มีลายรูปไต ตาสีแดงสะท้อนแสงไฟ ผีเสื้อเจาะกินน้ำหวานจากผล ทำให้มีน้ำ ไหลเยิ้มออกจากรูที่ถูกเจาะ และเชื้อโรคเข้าทำลายซ้ำ ช่วงเวลาระบาด ช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว เดือนกรกฎาคม - สิงหาคม
การป้องกันกำจัด
- ห่อช่อดอกด้วยกระดาษเพื่อป้องกันการเข้าทำลาย
- กำจัดวัชพืชซึ่งเป็นพืชอาหารของหนอน เช่น ย่านาง ต้นข้าวสาร และบอระเพ็ด
- ใช้ไฟส่อง จับผีเสื้อทำลายโดยใช้สวิงโฉบช่วงเวลา 20.00-22.00 น.)
- ช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว ใช้เหยื่อพิษ โดยใช้สับปะรดสุก ตัดเป็นชิ้นจุ่มในสารป้องกันศัตรูพืชตามคำแนะนำ
การใช้สารป้องกันกำจัดแมลง
คาร์บาริล (85% ดับบลิวพี) 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ใช้สับปะรดสุกตัดเป็นชิ้นจุ่มนาน 1 นาที ไปแขวนในสวน หยุดการใช้สารก่อนเก็บเกี่ยว 7 วัน

ดูหัวข้อที่เกี่ยวข้อง:
  • ประวัติลำใย

  • พันธุ์ลำไย

  • การปลูกลำไย

  • ประโยชน์ของลำไย

  • โรคและการป้องกัน
  • 0 ความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น