การราดสาร

on กันยายน 28, 2553




การชักนำการออกดอก

หลังจากเตรียมต้นลำไยให้สมบูรณ์พร้อมที่จะผลิตลำไยทั้งในและนอกฤดู ขั้นตอนต่อไปคือ การชักนำให้ลำไยออกดอก เป็นที่ทราบกันดีว่าสารโพแทสเซียมคลอเรตมีคุณสมบัติชักนำให้ลำไยออกดอกได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาอากาศหนาวเย็น จึงทำให้เกิดการผลิตลำไยนอกฤดูขึ้น เกษตรกรที่ให้สาร คลอเรตในปีแรก พบว่าประสบผลสำเร็จสามารถชักนำให้ลำไยออกดอกได้แทบทุกต้นแต่ในปีต่อๆ มากลับพบปัญหาคือการให้สารซ้ำในที่เดิมต้นลำไยออกดอกน้อยลงหรือไม่ออกดอก ทำให้เกษตกรเกิดความคิดว่าจะต้องเพิ่มปริมาณสารทุกปีแต่การปฏิบัติเช่นนี้ก็ ยังไม่สามารถแก้ปัญหาลงได้ เกษตรกรบางรายให้สารนี้ในอัตราที่สูงกลับออกดอกน้อยกว่าสวนลำไยที่ให้อัตรา ต่ำกว่า แสดงให้เห็นว่าการตอบสนองต่อสารโพแทสเซียมคลอเรตไม่ได้ขึ้นอยู่กับอัตราการ ใช้เพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายประการ ซึ่งเกษตรกรควรศึกษาและให้ความสำคัญเพราะจะได้นำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

การตอบสนองของลำไยต่อสารโพแทสเซียมคลอเรต
ต้นลำไยที่ได้รับสารโพแทสเซียมคลอเรตจะออกดอกได้ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้
1. อายุของใบ การให้สารโพแทสเซียมคลอเรตกับต้นลำไยในระยะใบอ่อนมักพบว่าเปอร์เซ็นต์การออก ดอกต่ำและแทงช่อดอกช้า เนื่องจากใบอ่อนอาจมีสารยับยั้งการออกดอก จากการทดลองสรุปได้ว่าระยะใบที่เหมาะสมต่อการให้สารควรมีอายุใบอย่างน้อย 3 สัปดาห์



2. ฤดูกาลให้สาร การให้สารในช่วงฤดูร้อน (มี.ค. – พ.ค.) และฤดูหนาว (ต.ค.- ม.ค.) พบว่าลำไยจะออกดอกได้ดี แต่ถ้าให้สารในช่วงฤดูฝน (มิ.ย. – ก.ย.) กลับพบว่าลำไยออกดอกได้น้อยหรือบางต้นไม่ออกดอกโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นลำไยที่ มีอายุมาก จากข้อมูลดังกล่าวมีข้อแนะนำ คือ ควรกำหนดปริมาณสารให้เหมาะสมกับฤดูกาล เช่นช่วงฤดูหนาวควรให้สารในอัตราต่ำ ช่วงฤดูร้อนอัตราปานกลางและฤดูฝนให้อัตราสูง นอกจากนี้ไม่ควรให้สารกับต้นลำไยที่มีอายุมากในฤดูฝนเพราะจะตอบสนองไม่ดี เท่ากับลำไยที่มีอายุน้อย สำหรับอัตราการใช้สารแสดงในตารางที่ 3.1

ตารางที่ 3.1 ข้อแนะนำการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตกับต้นลำไยที่มีขนาดทรงพุ่มต่าง ๆ

เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 3 เมตร อัตราการใช้ 50 – 150 กรัม
4 " " 100 –250 "
5 " " 150 –400 "
6 " " 250 –500 "
7 " "300 –750 "
8 " "400–1,000"
9" "500–1,250
10" "600- 1,500


* อัตราที่แนะนำประยุกต์จากงานทดลองที่ใช้ในอัตรา 8 – 20 กรัมต่อตารางเมตรของพื้นที่ทรงพุ่ม

3. แสง ต้นลำไยที่ให้สารโพแทสเซียมคลอเรตในสภาพที่มีแสงจะออกดอกได้ดีกว่าในสภาพ ครึ้มฟ้าครึ้มฝน ข้อแนะนำที่จะนำไปประยุกต์ใช้ คือ ตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มลำไยโปร่งให้แสงกระจายทั่วทรงพุ่มและยังเป็นการลด จำนวนกิ่งต่อต้นลงทำให้ลำไยออกดอกได้ดี นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการให้สารคลอเรตในช่วงครึ้มฟ้าครึ้มฝนหรือช่วงที่ฝน ตกชุก
4. พันธุ์ ลำไยพันธุ์สีชมพูจะตอบสนองต่อสารโพแทสเซียมคลอเรตได้ดีกว่าพันธุ์อีดอ ดังนั้นจึงควรลดปริมาณสารลงครึ่งหนึ่งของอัตราที่ใช้ได้ผลกับพันธุ์อีดอ
5. เทคนิคและวิธีการให้สาร ถึงแม้การให้สารโพแทสเซียมคลอเรตสามารถให้ได้หลายวิธี เช่น ทางดิน ทางใบ และฉีดเข้าลำต้น แต่วิธีที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ทางดิน
ที่มา:http://icomm.eng.cmu.ac.th
ดูหัวข้อที่เกี่ยวข้อง :
  • ประวัติลำใย

  • พันธุ์ลำไย

  • การปลูกลำไย

  • โรคและการป้องกัน

    0 ความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น